การปกป้องความจริงเกี่ยวกับคริสต์มาส (Defending the Truth of Christmas)

เทศกาลคริสต์มาสเป็นที่ชื่นชอบของคริสตชนทั่วไป และในเดือนธันวาคมของทุกปี คนที่รักพระเจ้าทั่วโลกเฉลิมฉลองการเสด็จมาและบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซู ผู้เป็นพระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า และเป็นพระเจ้าแท้ที่เท่าเทียมกับพระบิดาเจ้า

อาเรียสสอนผิดเรื่องพระเยซู

อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 318 มีผู้นำคริสตจักรคนหนึ่งที่ท้าทายความจริงเกี่ยวกับคริสต์มาส นั่นคือ อาเรียส (Arius) ผู้อาวุโสแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) อาเรียสสอนว่า แม้พระเยซูคริสต์จะทรงเป็นอยู่ก่อนทุกสิ่งและทรงมีส่วนในการเนรมิตสร้างทุกสิ่ง แต่พระองค์ก็ยังเป็นผู้ที่ถูกสร้างขึ้น จึงมิได้ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์แต่มีจุดเริ่มต้น  ดังนั้น เขาอ้างว่าพระคริสต์ผู้เป็นพระบุตรมีสถานะด้อยกว่าพระบิดาเจ้า โดยยอมรับว่าพระเยซูเป็นมนุษย์ แต่ปฏิเสธว่าพระบิดาและพระบุตรมีสถานะเท่าเทียมกันและเป็นสาระเดียวกัน  คำสอนเทียมเท็จนี้แพร่ไปทั่วจักรวรรดิโรมัน และมีหลายคนเชื่อตามคำสอนผิดของอาเรียส รวมทั้งโอรสและทายาทของคอนสแตนตินผู้เป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมัน

Late medieval Greek Orthodox icon showing Saint Nicholas of Myra slapping Arius at the First Council of Nicaea.ภาพวาดยุกกลาง นักบุญนิโคลัสตีหน้าอาเรียส ณ ประชุมสภาเมืองไนเซีย

ชาวคริสต์ควรทำอย่างไรเมื่อโรคระบาด ~ มุมมองของ มาร์ติน ลูเธอร์

เมื่อ ค.ศ. 1527 นักปฏิรูปโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเธอร์  เขียนบันทึกนี้   ขณะที่เขาเผชิญหน้ากับโรคระบาด “กาฬมรณะ” ที่เมืองวิตเตนเบิร์ก ประเทศเยอรมัน
"ข้าพเจ้าจะทูลขอพระเจ้าให้เมตตาปกป้องเรา จากนั้นข้าพเจ้าจะรมยา ช่วยทำให้อากาศสะอาด จัดหายาให้ผู้อื่น และรับประทานยาเอง ข้าพเจ้าจะหลีกเลี่ยงสถานที่และบุคคลที่ไม่ต้องการตัวของข้าพเจ้า เพื่อไม่ให้ตัวเองติดเชื้อ และมีโอกาสทำให้คนอื่นต้องติดเชื้อและทำให้พวกเขาต้องเสียชีวิตเพราะความประมาทเลินเล่อของข้าพเจ้า หากพระเจ้าปรารถนาที่จะรับข้าพเจ้าไป พระองค์จะพบตัวข้าพเจ้าอย่างแน่นอน และข้าพเจ้าได้ทำสิ่งที่ข้าพเจ้าเองสมควรทำแล้ว ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อความตายของตัวข้าพเจ้าเองหรือของผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หากเพื่อนบ้านต้องการข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่หลีกเลี่ยงสถานที่หรือบุคคล แต่จะไปอย่างอิสระตามที่ระบุไว้ข้างต้น นี่เป็นความเชื่อวางใจที่ยำเกรงพระเจ้า เพราะความเชื่อเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความหุนหันพลันแล่นหรือความบ้าบิ่นและการทดสอบพระเจ้า”
luther preaching sqaure

ความเหมือน และความแตกต่างระหว่าง นิกายโปรเตสแตนท์และนิกายโรมันคาธอลิก

หลายคนรู้ว่านิกายโรมันคาธอลิกและนิกายโปรเตสแตนท์เป็นของศาสนาคริสต์ แต่ยังไม่รู้ว่าทั้งสองนิกายนี้แต่กต่างกันอย่างไร  ทั้งสองกลุ่มมีความเชื่อตาม หลักข้อเชื่อของอัครทูต และ หลักข้อเชื่อไนซีน แต่ยังมีหลายข้อที่ไม่เหมือนกัน

ข้างล่างนี่ท่านจะพบการสรุปสั้นๆ เรื่องความแตกต่างระหว่างนิกายโรมันคาธอลิกและนิกายโปรเตสแตนท์   

 

 

หลักความเชื่อ

คาธอลิก

โปรเตสแตนท์

1

สิทธิสูงสุดในการปกครองของคริสตจักร

สังฆธิปไตย (การปกครองตามลำดับลงมา) - สันตะปาปาเป็นประมุข

1) สังฆธิปไตย (แบบแองกลิคัน)
2) คณะผู้ปกครองที่ระดับภาค (แบบสภาฯ)
3) คณะผู้นำของคริสตจักรท้องถิ่น (แบบแบบติสต์)

2

สิทธิอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อ

ประเพณีและคำสอนของศาสนจักร

พระคริสตธรรมคัมภีร์

3

ความรอด

โดยพระคุณด้วยมีการกระทำเป็นตัวช่วย

โดยพระคุณพระเจ้าเท่านั้น

4

คนกลางระหว่างเรากับพระเจ้า

พระเยซูคริสต พระแม่มารี เหล่านักบุญ และบาทหลวงประจำโบสถ์

พระเยซูคริสต์เท่านั้น

5

หลังความตาย

คนเชื่อพระคริสต์ไปแดนชำระรับโทษบาป แล้วขึ้นสวรรค์เมื่อถูกชำระแล้ว
คนไม่เชื่อพระคริสตอาจตกนรก หรือ อาจรอด (คำสอนของคาธอลิกยื่นยันทั้งสองอย่าง)

คนเชื่อพระคริสตขึ้นสวรรค์
คนไม่เชื่อถูกพิพากษาลงโทษนิรันดร์

6

พิธีมหาสนิด

ขนมปังและน้ำองุ่นเปลี่ยนแปลงเป็นพระกายและพระโลหิตแท้ของพระเยซูคริสต์  พีธีเป็นการถวายบูชา

ขนมปังและน้ำองุ่นเป็นสัญญาลักษณ์ช่วยผู้เชื่อให้ระลึกถึงพระเยซูคริสต์

7

ผู้นำคริสตจักร

บาทหลวง  ห้ามแต่งงาน

ศิยาภิบาล ผู้ปกครอง และ/หรือทีมผู้นำ
แต่งงานได้

8

รูปปั้น  ภาพศิลปะ

รูปปั้น และภาพศิลปะเป็นตัวช่วยผู้เชื่อนมัสการพระเจ้า

รูปปั้นมีน้อย ไม่มีบทบาทในการนมัสการ
ภาพศิลปะใช้ในการสอนเด็ก หรือเอาไว้เพื่อความสวยงามเท่นนั้น

Image by Free-Photos from Pixabay

ท่านใดที่สนใจรู้เพิ่มเติมสามารถ

 

เสาหลักห้าประการของโปรเตสแตนต์คืออะไร? (What are the Five Solas of Protestantism?)

หนังสือ เสาหลักห้าประการของโปรเตสแตนต์

เมื่อปี 2017 เป็นปีพิเษศสำหรับคริสเตียนทั่วโลกเนื่องจากเป็นปีครบรอบ 500 ปีของการปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนต์ เมื่อปีค.ศ. 1517 บาทหลวงคนหนึ่งชื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ได้นำข้อเสนอ คำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ไปปิดไว้ที่ประตูวิหารของเมืองวิทเทนเบิร์ก (Wittenburg) ประเทศเยอรมัน ท่านได้สังเกตปัญหาและคำสอนผิดบางอย่างในคริสตจักร จึงปราถนายกเรื่องเหล่านี้มาอภิปรายเพื่อรับการแก้ไข การนำคำประท้วง 95 ข้อ ปิดไว้ในครั้งนี้ถูกนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนต์ ซึ่งส่งผลให้คริสต์ศาสนจักรตะวันตกแตกเป็นสองนิกายใหญ่ๆ คือ นิกายโปรเตสแตนต์ และนิกายคาทอลิก ต่อมาพวกโปรเตสแตนต์ได้แบ่งออกเป็นสายต่างๆ ซึ่งเชื่อและปฏิบัติไม่เหมือนกันในบางข้อ จนมีคนบอกว่าพวกโปรเตสแตนต์ไม่มีแก่นแท้ทางความเชื่อเลย คำกล่าวหานี้เป็นความจริงหรือไม่?  มีอะไรที่เป็นแก่นแท้ทางความเชื่อของพวกโปรเตสแตนต์?   มีความเชื่อและข้อปฏิบัติอะไรบ้างหรือไม่ที่ชาวโปรเตสแตนต์จากกลุ่มต่างๆ ยึดถือและทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกัน? หลายปีมาแล้วมีผู้นำคริสตจักรและนักศาสนศาสตร์หลายคนได้ยกเรื่อง “เสาหลักห้าประการ” (Five Solas) เป็นเครื่องมืออธิบายว่าแก่นแท้ทางความเชื่อของโปรเตสแตนต์คืออะไร

บทสนทนาว่าด้วยเรื่องชีวิตและศาสนศาสตร์ กับคอสติ ฮินน์ (Costi Hinn)

คอสติ ฮินน์ (Costi Hinn)

บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทยจาก On Life & Theology With Costi Hinn เขียนโดย Adam Powers และโพสต์ ณ ที่นี้โดยได้รับอนุญาต
 
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผม(อาดัม พาวเวอร์ส์)ได้รับสิทธิพิเศษให้ได้นั่งสนทนากับคุณคอสติ ฮินน์ (Costi Hinn) เพื่อจัดทำบทสัมภาษณ์ลง Publicans Blog นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ผมได้มีโอกาสรู้จักผู้ชายคนนี้และสัมผัสหัวใจของเขาที่อุทิศให้กับความจริงของพระเจ้า  เขาได้ผ่านประสบการณ์อะไรมามากมายในเส้นทางชีวิตของเขา จากความเป็นคนนอกรีตจนมาสู่ความสัตย์ซื่อต่อพระเจ้า และเราได้เรียนรู้มากมายจากชีวิตของเขา  ชายผู้นี้ไม่เพียงแต่เป็นผู้ที่ยำเกรงพระเจ้า แต่เขาเป็นสามี พ่อ และศิษยาภิบาลที่สัตย์ซื่อและมุ่งมั่นที่จะถวายเกียรติแด่พระเจ้าในทุกสิ่งที่เขาทำ ข้างล่างนี้คือบทสัมภาษณ์ของเรา ขอให้ท่านได้รับความสนุก!

Donation Address

OMF International
10 W. Dry Creek Circle
Littleton, CO 80120

With your check, please include a note indicating support for "Karl & Sun Dahlfred"
You may also give online.